หนังสือ The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
หนังสือ The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
ผู้เขียน: Morgan Housel
สำนักพิมพ์: ลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์/Leaf Rich Forever
ตัวอย่างบางส่วนจากหนังสือ The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน
ถ่อมตัวเมื่อประสบความสำเร็จ และให้อภัยเมื่อล้มเหลว
อย่าลืมว่าทุกอย่างมีเรื่องของโชคมาเกี่ยวข้อง ในที่นี้ขอพูดถึงโชคลาภและความเสี่ยงครับ คุณมอร์แกนเค้าบอกว่าโชคและความเสี่ยงเป็นของคู่กัน มันเป็นความจริงที่ว่าผลลัพธ์ที่คุณผู้อ่านได้ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามเราไม่สามารถควบคุมได้ทุกอย่าง แต่ทั้งสองยากมันยากที่จะประเมินและยอมรับได้ คนส่วนมากจึงมองข้ามความเสี่ยงและโชคไปเลย
ผู้เขียนได้พูดถึงเรื่องราวที่ค่อนข้างน่าตกใจเค้าก็ยกตัวอย่างถึง บิล เกตส์ เค้าโชคดีมากที่ได้เป็นเด็กหนึ่งในล้านสมัยนั้นที่ได้เรียนโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ จนสุดท้ายได้เป็นมหาเศรษฐี
ในขณะเดียวกันเพื่อนโรงเรียนเดียวกับเค้าก็เป็นเด็กหนึ่งในล้านที่ปีนเขาและเสียชีวิต มันเหมือนกับการทอยเหรียญครับ ที่ต่อให้ทำทุกอย่างเหมือนกัน ก็ไม่ได้แปลว่าจะออกหัวเหมือนกัน
ทางด้านการเงินบางครั้งการตัดสินใจที่ฟังดูสมเหตุสมผล แต่ปัจจัยภายนอกอาจจะทำให้ผลลัพธ์ออกมาไม่ดี ต่อให้สิ่งที่เราทำอาจจะเคยเหมือนในสิ่งที่เราเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว วิธีการเดียวกับการที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ แต่พอมาลองทำอีกทีผลลัพธ์มันอาจจะออกมาไม่เหมือนเดิม
ในทางตรงกันข้าม คนบางคนใช้ความเสี่ยงอย่างไม่รอบคอบ แต่ก็อาจจะโชคดีและได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาด แต่บางคนอาจจะตรงกันข้าม อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์แถมยังขาดทุน มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตราย ผู้เขียนได้บอกไว้เพราะว่าคนส่วนมากจะดูแต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แล้วจะคิดว่าผลลัพธ์ที่ดีมาจาก การตัดสินใจที่ดี
คุณมอร์แกนจึงบอกว่า ทักษะหรือสกิลอาจจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการประสบความสำเร็จ แต่ก็ล้มเหลวได้อยู่ดี และความล้มเหลวไม่ได้แปลว่าคุณเป็นคนไม่ได้เรื่องคุณเป็นคนไม่มีทักษะไม่ใช่แบบนั้นนะครับ
เค้าบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปรับรู้ว่าโชคลาภเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ และความเสี่ยงหมายถึงเราควรให้อภัยตัวเอง ถ้าเราล้มเหลวหรือผิดพลาดในเรื่องอะไรก็ตาม เพราะมันก็แค่เสี่ยงแล้วเราพลาด แต่เราเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว
ต่อให้ทำถูกทุกอย่างก็มีโอกาสล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม
ข้อคิดที่ได้จากบทนี้เลยก็คือ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรไม่ว่าคุณจะมีเป้าหมายและลงมือทำในเรื่องอะไรก็ตาม คุณควรจะพิจารณาให้ดีเกี่ยวกับคนที่คุณชื่นชอบ คนที่เอามาเป็นโมเดล เอามาเป็นไอดอล และดูว่าผลลัพธ์ที่พวกเขาได้ มันสมเหตุสมผลกับการกระทำหรือเปล่า
เราไม่ควรเจาะจงกับการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกเขา แต่ควรเจาะจงกับความประพฤติโดยรวมเกี่ยวกับการเงิน อย่างเช่น การออมเงินหรือมุมมองต่อความเสี่ยง อย่างเช่น เพราะเราเห็นคนที่ไม่จบจากมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ เราตัดสินไปว่าถ้าอยากจะประสบความสำเร็จไม่ต้องเรียนมหาวิทยาลัยก็ได้ จริงๆมันอาจจะมีความจริงส่วนนึง แต่เรายังไม่ได้เห็นว่าคนที่ไม่จบมหาวิทยาลัยบางคนก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จซึ่งมีเยอะกว่าคนที่ประสบความสำเร็จมากๆ เพียงแต่เค้าไม่ได้มาแสดงให้เราเห็นเท่านั้นเอง – The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน